เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
18. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬะแล้ว
ตัสสปาปิยสิกา จบ

7. ติณวัตถารกะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการประนีประนอม

เรื่องภิกษุก่อความวุ่นวาย
[212] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาท
กันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วย
วาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางที
อธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้
พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุใน
หมู่นั้นปรึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :326 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
กาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้นจะพึงเป็นไปเพื่อ
ความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้ด้วยติณวัตถารกะ”

วิธีระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอย่างนี้ ภิกษุทุก ๆ รูปพึงประชุมในที่แห่งเดียวกัน
ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่
ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจา
และพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์
นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้วพึงระงับอธิกรณ์นี้ด้วยติณวัตถารกะ เว้นอาบัติที่มีโทษหยาบ1 เว้น
อาบัติเนื่องด้วยคฤหัสถ์”2
ลำดับนั้น บรรดาภิกษุฝ่ายเดียวกัน ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ฝ่าย
ของตนทราบด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“ขอท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้
ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและ
พยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางทีอธิกรณ์นั้น
จะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกันก็ได้ ถ้าท่าน
ทั้งหลายพร้อมกันแล้ว ข้าพเจ้าพึงแสดงอาบัติของท่านทั้งหลาย และอาบัติของตน

เชิงอรรถ :
1 อาบัติที่มีโทษหยาบ คืออาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส (วิ.อ. 3/213/295)
2 อาบัติที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ คืออาบัติที่ต้องเพราะด่า,ขู่คฤหัสถ์และเพราะรับคำของคฤหัสถ์(แล้วไม่ทำตาม)
(วิ.อ. 3/203/295)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :327 }