เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 6. ตัสสปาปิยสิกา
หมวดที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอื่นอีก 3 รูป
คือ

1. รูปหนึ่งเป็นผู้มีสีลวิบัติในอธิสีล 2. รูปหนึ่งเป็นผู้มีอาจารวิบัติใน
อัชฌาจาร
3. รูปหนึ่งเป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฐิ

ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ รูปเหล่านี้แล (5)

หมวดที่ 6
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุอื่นอีก 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวังพึงลงตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุ 3 รูป
เหล่านี้แล (6)
อากังขมานฉักกะ จบ

อัฏฐารสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร 18 ข้อในตัสสปาปิยสิกากรรม
[211] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ถูกสงฆ์ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแล้ว พึงประพฤติ
โดยชอบ การประพฤติโดยชอบในเรื่องนั้นดังนี้

1. ไม่พึงให้อุปสมบท 2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก 4. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอน
ภิกษุณี
5. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอน ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :325 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 7. ติณวัตถารกะ
18. ไม่พึงชักชวนกันก่อความทะเลาะ
ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่พระอุปวาฬะแล้ว
ตัสสปาปิยสิกา จบ

7. ติณวัตถารกะ
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยการประนีประนอม

เรื่องภิกษุก่อความวุ่นวาย
[212] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติ
ละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายาม
ทำด้วยกาย
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาท
กันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วย
วาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกเราจักปรับอาบัติเหล่านี้กันและกัน บางที
อธิกรณ์นั้นจะพึงลุกลามไปเพื่อความรุนแรง เพื่อความร้ายกาจ เพื่อความแตกกัน
ก็ได้ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” แล้วได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค
ให้ทรงทราบ

พุทธานุญาตให้ระงับอธิกรณ์ด้วยติณวัตถารกะ
พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้
พวกภิกษุบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ถ้าพวกภิกษุใน
หมู่นั้นปรึกษาอย่างนี้ว่า ‘พวกเราบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันอยู่ ได้ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :326 }