เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 4. ปฏิญญาตกรณะ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม

ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียว
โจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน
ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :317 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 5. เยภุยยสิกา
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน ผมต้องอาบัติ
ทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาต-
กรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ปฏิญญาตกรณะ จบ

5. เยภุยยสิกา
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์ตามเสียงข้างมาก

เรื่องภิกษุหลายรูป
[202] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้บาดหมาง ทะเลาะวิวาทกัน ในท่าม
กลางสงฆ์ กล่าวทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ไม่อาจระงับอธิกรณ์นั้นได้
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนั้นไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ระงับอธิกรณ์เห็นปานนี้
ด้วยเยภุยยสิกา สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ให้เป็นผู้ให้จับสลาก คือ
1. ไม่ลำเอียงเพราะชอบ 2. ไม่ลำเอียงเพราะชัง
3. ไม่ลำเอียงเพราะหลง 4. ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
5. รู้จักสลากที่จับแล้วและยังมิได้จับ

วิธีแต่งตั้งและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงแต่งตั้งภิกษุผู้ให้จับสลากอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงขอ
ให้ภิกษุรับ ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาดสามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติย-
กรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :318 }