เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 4. ปฏิญญาตกรณะ
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ปาราชิก ผมต้องอาบัติทุพภาสิต” สงฆ์ปรับอาบัติทุพภาสิตภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียวโจทภิกษุนั้น
ว่า “ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ผมมิได้ต้องอาบัติ
ทุพภาสิต ผมต้องอาบัติสังฆาทิเสส” ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ” สงฆ์ปรับอาบัติทุกกฏภิกษุนั้น (การปรับ
อย่างนี้) ชื่อว่าปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ปฏิญญาตกรณะที่ไม่ชอบธรรม

ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์หรือภิกษุมากรูป หรือภิกษุรูปเดียว
โจทภิกษุนั้นว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ถูกละท่าน
ผมต้องอาบัติปาราชิก” สงฆ์ปรับอาบัติปาราชิกภิกษุนั้น (การปรับอย่างนี้) ชื่อว่า
ปฏิญญาตกรณะที่ชอบธรรม
ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ
อาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :317 }