เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 3. อมูฬหวินัย
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้น
อยู่นั่นเองว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้โจทภิกษุชื่อคัคคะ ด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปร
ปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’
ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย
แล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็น
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลง ได้ทำ สิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ท่านกล่าวอยู่อย่างนั้น
ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะ จริงหรือ ฯลฯ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว”

วิธีให้อมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :310 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 3. อมูฬหวินัย
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท
กระผมด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’
กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มีจิต
แปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม
กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยัง โจทกระผมอยู่นั่นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายหลงแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ภิกษุทั้งหลายโจท
กระผม ด้วยอาบัติที่กระผมผู้วิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมายแล้วว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็น
ปานนี้’ กระผมกล่าวกับภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย กระผมวิกลจริต มี
จิตแปรปรวนเสียแล้ว กระผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่
ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย
กระผมระลึกอาบัตินั้นไม่ได้ กระผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้กระผม
กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ยังโจทกระผมอยู่นั้นเองว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้’ ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นหายวิกลจริตแล้ว ขออมูฬหวินัยกับสงฆ์”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[197] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อคัคคะนี้วิกลจริต มีจิต
แปรปรวน ภิกษุชื่อคัคคะนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่
สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :311 }