เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (10)

หมวดที่ 11
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ 3 อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
1. ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง 2. ลงโดยชอบธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (11)

หมวดที่ 12
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ 3 อีกอย่างหนึ่ง ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี คือ
1. ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง 2. ลงโดยชอบธรรม
3. สงฆ์พร้อมเพรียงกันลง
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมชอบด้วยวินัย และระงับดี (12)
ธัมมกัมมทวาทสกะ จบ

อากังขมานฉักกะ
ว่าด้วยสงฆ์มุ่งหวังจะลงนิยสกรรม 6 หมวด
หมวดที่ 1
[15] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วย
องค์ 3 คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :31 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
1. ก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3
เหล่านี้แล (1)

หมวดที่ 2
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3
อีกอย่างหนึ่ง คือ
1. มีสีลวิบัติในอธิสีล 2. มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
3. มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3
เหล่านี้แล (2)

หมวดที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3
อีกอย่างหนึ่ง คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3
เหล่านี้แล (3)

หมวดที่ 4
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุ 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :32 }