เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 3. อมูฬหวินัย
มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์
สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สติวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การให้สติวินัยที่ชอบธรรม 5 อย่าง
[195] ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี 5 อย่างนี้ คือ

1. ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติ 2. ผู้อื่นโจทภิกษุนั้น
3. ภิกษุนั้นขอ 4. สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
5. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้

ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี 5 อย่างนี้แล
สติวินัย จบ

3. อมูฬหวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า

เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ
[196] สมัยนั้น พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย
กาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นเป็นผู้วิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้”
ภิกษุชื่อคัดคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :309 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 3. อมูฬหวินัย
เป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลงได้ทำสิ่งนี้แล้ว”
ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอยู่อย่างนั้น ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้น
อยู่นั่นเองว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ทั้งหลายจึงได้โจทภิกษุชื่อคัคคะ ด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นผู้วิกลจริต มีจิตแปร
ปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า ‘ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้’
ภิกษุชื่อคัคคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสีย
แล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่ควรแก่สมณะเป็น
อาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วยกาย ผมระลึกอาบัตินั้น
ไม่ได้ ผมหลง ได้ทำ สิ่งนี้แล้ว’ ภิกษุทั้งหลายแม้ท่านกล่าวอยู่อย่างนั้น
ก็ยังโจทภิกษุชื่อคัคคะนั้นอยู่นั่นเองว่า ‘ท่าน ต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติเห็นปานนี้”
แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาค ให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
ทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะ จริงหรือ ฯลฯ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้อมูฬหวินัยแก่
ภิกษุชื่อคัคคะผู้หายวิกลจริตแล้ว”

วิธีให้อมูฬหวินัย และกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อมูฬวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุชื่อคัคคะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวนเสียแล้ว
ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :310 }