เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 3. อมูฬหวินัย
มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์
สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใด
เห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
สติวินัย สงฆ์ให้แล้วแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตร ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
การให้สติวินัยที่ชอบธรรม 5 อย่าง
[195] ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี 5 อย่างนี้ คือ

1. ภิกษุเป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ต้องอาบัติ 2. ผู้อื่นโจทภิกษุนั้น
3. ภิกษุนั้นขอ 4. สงฆ์ให้สติวินัยแก่ภิกษุนั้น
5. สงฆ์พร้อมเพรียงกันโดยธรรมให้

ภิกษุทั้งหลาย การให้สติวินัยที่ชอบธรรมมี 5 อย่างนี้แล
สติวินัย จบ

3. อมูฬหวินัย
ว่าด้วยระงับอธิกรณ์โดยยกประโยชน์ให้ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า

เรื่องภิกษุชื่อคัคคะ
[196] สมัยนั้น พระคัคคะวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ประพฤติละเมิด
สิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะเป็นอาจิณมากมาย ทั้งที่กล่าวด้วยวาจาและพยายามทำด้วย
กาย ภิกษุทั้งหลายโจทภิกษุชื่อคัคคะด้วยอาบัติที่ภิกษุชื่อคัคคะนั้นเป็นผู้วิกลจริต มี
จิตแปรปรวน ประพฤติละเมิดเป็นอาจิณว่า “ท่านต้องอาบัติแล้ว จงระลึกอาบัติ
เห็นปานนี้”
ภิกษุชื่อคัดคะนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมวิกลจริต มีจิตแปรปรวน
เสียแล้ว ผมนั้นวิกลจริต มีจิตแปรปรวน ได้ประพฤติละเมิดสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :309 }