เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 2. สติวินัย
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้า
เธอทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ”
พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้าพระ-
พุทธเจ้าไม่รู้จักการเสพเมถุนธรรมแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก จงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้ว
เสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร
หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงให้นางภิกษุณีเมตติยาสึก แต่พระเมตติยะและ
พระภุมมชกะได้แจ้งภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลายอย่าให้นางภิกษุณีเมตติยาสึกเลย
นางไม่มีความผิด พวกกระผมโกรธ ไม่พอใจ ต้องการให้พระทัพพมัลลบุตรพ้นจาก
พรหมจรรย์ จึงชักจูงนาง”
ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านใส่ความพระทัพพมัลลบุตร
ด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลหรือ”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะ
และพระภุมมชกะจึงใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูลเล่า” แล้ว
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุ
เมตติยะและภิกษุภุมมชกะใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” ฯลฯ
ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สติวินัยแก่ทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่ง
สติแล้ว”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :307 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 2. สติวินัย
วิธีให้สติวินัยและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สติวินัยอย่างนี้ คือ ภิกษุทัพพมัลลบุตรนั้น พึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ
เหล่านี้ ใส่ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว
ขอสติวินัยกับสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ว่า “ท่านผู้เจริญ ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ใส่
ความกระผมด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล กระผมนั้นถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัย
กับสงฆ์”
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[194] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะ
เหล่านี้ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตร
เป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงให้
สติวินัยแก่ท่านพระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้
ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่มีมูล ท่านพระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้
ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ขอสติวินัยกับสงฆ์ สงฆ์ให้สติวินัยแก่ท่านพระทัพพ-
มัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สติวินัยแก่ท่าน
พระทัพพมัลลบุตรผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็น
ด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เมตติยะและภิกษุภุมมชกะเหล่านี้ ใส่ความท่านพระทัพพมัลลบุตรด้วยสีลวิบัติที่ไม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :308 }