เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธะ] 1. ตัชชนียกรรม
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลายจึงก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และ
สามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอย เป็นฝ่ายพวกท่าน’
ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออก
ไป ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะ ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส
ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่บางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”

ทรงรับสั่งให้ลงตัชชนียกรรม
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก
มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน
เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถา
ให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ”

วิธีลงตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทพวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้วจึงปรับ
อาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :3 }