เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 1. สัมมุขาวินัย
ข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยไม่ชอบธรรม เป็นสัมมุขาวินัย
ปฏิรูป (9)
กัณหปักขนวกะ จบ

สุกกปักขนวกะ
ว่าด้วยธรรมฝ่ายขาว 9 อย่าง

สัมมุขาวินัยโดยธรรม
[188] ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ ท่านจงถือ
เอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (1)
ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีภิกษุมากรูปให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอาข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (2)
ธรรมวาทีบุคคล ยังอธรรมวาทีสงฆ์ให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้ใคร่ครวญ
ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาข้อนี้
จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็นสัมมุขาวินัย (3)
ธรรมวาทีภิกษุมากรูป ยังอธรรมวาทีบุคคลให้ยินยอม ให้พินิจ ให้เพ่ง ให้
ใคร่ครวญ ให้แสดง ให้แสดงตามว่า “นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจง
ถือเอา ข้อนี้ จงพอใจข้อนี้” ถ้าอธิกรณ์นั้นระงับอย่างนี้ ชื่อว่าระงับโดยธรรม เป็น
สัมมุขาวินัย (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :298 }