เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 2. ปริวาส
[154] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2 ตัว
ปิดไว้ 2 เดือน คือ เดือนหนึ่งระลึกได้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยระลึกไม่ได้ ภิกษุนั้น
ขอปริวาส 2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส
2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่
ปริวาส ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
มาถึง กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่อ
อาบัติอะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2
ตัว ปิดไว้ 2 เดือน เดือนหนึ่งระลึกได้แต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยระลึกไม่ได้
ภิกษุนั้นขอปริวาส 2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้
ปริวาส 2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนแก่ภิกษุนั้น ท่าน ภิกษุนี้ต้อง
อาบัติเหล่านั้น ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ระลึกได้แต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรม
ย่อมฟังขึ้น ส่วนการให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิดไว้โดยระลึกไม่ได้ ไม่ชอบธรรม ความ
ไม่ชอบธรรมย่อมฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง’
[155] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2 ตัว ปิด
ไว้ 2 เดือน คือ เดือนหนึ่งแน่ใจแต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส 2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส 2 เดือน
เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว เมื่อภิกษุนั้นกำลังอยู่ปริวาส
ภิกษุรูปอื่นผู้เป็นพหูสูต เชี่ยวชาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต
เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา มาถึง
กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุนี้ต้องอาบัติอะไร ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติ
อะไร’ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส 2 ตัว ปิดไว้
2 เดือน คือ เดือนหนึ่งแน่ใจแต่ปิดไว้ เดือนหนึ่งปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ภิกษุนั้นขอ
ปริวาส 2 เดือน เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาส 2 เดือน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :254 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 2. ปริวาส
เพื่ออาบัติ 2 ตัว ปิดไว้ 2 เดือนแก่ภิกษุนั้นแล้ว ท่าน ภิกษุนี้ต้องอาบัติเหล่านั้น
ภิกษุนี้อยู่ปริวาสเพื่ออาบัติเหล่านั้น’ ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย การให้
ปริวาสสำหรับเดือนที่แน่ใจแต่ปิดไว้ ชอบธรรม ความชอบธรรมย่อมฟังขึ้น ส่วน
การให้ปริวาสสำหรับเดือนที่ปิดไว้โดยไม่แน่ใจ ไม่ชอบธรรม ความไม่ชอบธรรมย่อม
ฟังไม่ขึ้น ท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ควรแก่มานัตเดือนหนึ่ง”

สุทธันตปริวาส
ปริวาสสำหรับอาบัติหลายตัว ปิดไว้หลายคราว
[156] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ภิกษุนั้นไม่รู้
ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจ
ในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย
กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึก
ที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้ ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้สุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้น แก่ภิกษุนั้น”

วิธีให้สุทธันตปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สุทธันตปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว
กระผมไม่รู้ที่สุดอาบัติ ไม่รู้ที่สุดราตรี ระลึกที่สุดอาบัติไม่ได้ ระลึกที่สุดราตรีไม่ได้
ไม่แน่ใจในที่สุดอาบัติ ไม่แน่ใจในที่สุดราตรี ท่านผู้เจริญ กระผมนั้นขอสุทธันตปริวาส
เพื่ออาบัติเหล่านั้นกับสงฆ์”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :255 }