เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 1. สุกกวิสัฏฐิ
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์ สงฆ์ชักภิกษุอุทายี
เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5
วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วัน กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน
เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายี
ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว ขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี
เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่างปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว
ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว เป็นผู้ควรแก่อัพภาน ต้องอาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอการชักเข้า
หาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5
วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ชักภิกษุอุทายี เข้าหาอาบัติเดิม เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอสโมธานปริวาส เพื่ออาบัติ
ตัวก่อน เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้สโมธานปริวาส เพื่ออาบัติตัวก่อน เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้ว
ขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ในระหว่าง ปิดไว้
5 วันกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ในระหว่าง ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขอ
อัพภานกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงอัพภานภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 1 ปักษ์ ฯลฯ ภิกษุอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้ว ขออัพภาน
กับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่าน
รูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :235 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 2. ปริวาส
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอ
ถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
สุกกวิสัฏฐิ จบ

2. ปริวาส
ว่าด้วยการอยู่ชดใช้

อัคฆสโมธานปริวาส
ว่าด้วยปริวาสประมวลค่าแห่งอาบัติ และกรรมวาจา
[134] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ 1
ตัวปิดไว้ 1 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 2 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 3 วัน อาบัติ 1
ตัวปิดไว้ 4 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 5 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 6 วัน อาบัติ 1 ตัว
ปิดไว้ 7 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 8 วัน อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 9 วัน อาบัติ 1 ตัว
ปิดไว้ 10 วัน ภิกษุนั้นบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ
สังฆาทิเสสหลายตัว คือ อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 1 วัน ฯลฯ อาบัติ 1 ตัวปิดไว้ 10 วัน
กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น บรรดาอาบัติเหล่านั้น
อาบัติใดปิดไว้ 10 วัน สงฆ์จงให้อัคฆสโมธานปริวาสเพื่ออาบัตินั้นแก่ภิกษุนั้น

วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้อัคฆสโมธานปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุนั้นพึงเข้า
ไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :236 }