เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัตและอัพภานอยู่ จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
นั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุเสยยสกะ ผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติ
กำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ
ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่เล่า การ
กระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วจึงทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น สงฆ์จงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่”

วิธีลงนิยสกรรมและกรรมวาจา
สงฆ์พึงลงนิยสกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทภิกษุเสยยสกะ ครั้นแล้วให้
เธอให้การแล้วปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้
สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[12] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด
มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาสชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต
และอัพภานอยู่ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้
กลับไปถือนิสัยใหม่ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุเสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก
ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :22 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 2. นิยสกรรม
สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับ ไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้น พึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
เสยยสกะนี้โง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้ อยู่คลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ทั้ง ๆ ที่พวกปกตัตตภิกษุก็ให้ปริวาส
ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและอัพภานอยู่ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงนิยสกรรมแก่ภิกษุเสยยสกะ
โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ฯลฯ
ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
นิยสกรรม สงฆ์ลงแล้วแก่ภิกษุเสยยสกะ โดยสั่งให้กลับไปถือนิสัยใหม่ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

อธัมมกัมมทวาทสกะ
ว่าด้วยนิยสกรรมที่ไม่ชอบธรรม 12 หมวด

หมวดที่ 1
[13] ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมประกอบด้วยองค์ 3 ที่จัดว่าเป็นกรรมไม่ชอบ
ด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี คือ
1. ลงลับหลัง 2. ลงโดยไม่สอบถาม
3. ไม่ลงตามปฏิญญา
ภิกษุทั้งหลาย นิยสกรรมที่ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล ที่จัดว่าเป็นกรรม
ไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่ชอบด้วยวินัย และระงับไม่ดี (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :23 }