เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 1. สุกกวิสัฏฐิ
แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นอยู่ปริวาสแล้วขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวกับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่อ
อาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้วันเดียวแก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้น
ประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ สงฆ์อัพภานภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็น
ด้วยกับการอัพภานภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
ภิกษุอุทายี สงฆ์อัพภานแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
เอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

ปัญจาหปฏิจฉันนปริวาส
ว่าด้วยปริวาสสำหรับอาบัติปิดไว้ 5 วัน
[108] สมัยนั้น ท่านพระอุทายีต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้ 2 วัน ... ปิดไว้ 3 วัน ... ปิดไว้ 4 วัน ... ปิดไว้ 5 วัน แล้วบอกแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดไว้ 5 วัน กระผมจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงให้ปริวาส 5 วัน
เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายี

วิธีให้ปริวาสและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้ปริวาสอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน กระผมนั้นขอปริวาส 5 วัน เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :203 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 1. สุกกวิสัฏฐิ
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[109] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ
1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึง
ให้ปริวาส 5 วัน เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันแก่
ภิกษุอุทายี นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน ภิกษุอุทายีนั้นขอปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน สงฆ์ได้ให้ปริวาส 5 วัน เพื่ออาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การให้ปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันแก่
ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า
ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน ภิกษุอุทายี
นั้นขอปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันกับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้ปริวาส 5 วัน เพื่อาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วัน
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้ปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันแก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
ปริวาส 5 วันเพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดไว้ 5 วันสงฆ์ให้
แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :204 }