เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธะ] 1. ตัชชนียกรรม
บรรดาภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ
จึงก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ก่อความ
ทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่าน
เป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถกว่าภิกษุนั้น อย่า
กลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมาง
ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป”

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
[2] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรง
ทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะ
และพระโลหิตกะก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความ
อื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความ
บาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลายจงโต้ตอบ
ให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และสามารถ
กว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอยเป็นฝ่ายพวกท่าน’ ดังนี้
ทำให้ ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออกไป จริงหรือ”
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :2 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธะ] 1. ตัชชนียกรรม
ทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษทั้งหลายจึงก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่ออธิกรณ์
ในสงฆ์ด้วยตนเอง และพากันเข้าไปหาภิกษุพวกอื่นที่ก่อความบาดหมาง ฯลฯ ก่อ
อธิกรณ์ในสงฆ์ แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุรูปนั้นอย่าได้เอาชนะพวกท่าน ท่านทั้งหลาย
จงโต้ตอบให้แข็งขัน พวกท่านเป็นบัณฑิตกว่า เฉลียวฉลาดกว่า เป็นพหูสูตกว่า และ
สามารถกว่าภิกษุนั้น อย่ากลัวภิกษุนั้น แม้พวกกระผมจะคอย เป็นฝ่ายพวกท่าน’
ดังนี้เล่า ทำให้ความบาดหมางที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายลุกลามออก
ไป ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคน
ที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริงกลับจะ ทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใส
ไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่บางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป”

ทรงรับสั่งให้ลงตัชชนียกรรม
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระ
โลหิตกะโดยประการต่าง ๆ แล้ว จึงตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก
มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคน
เลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการน่า
เลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถา
ให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงตัชชนียกรรมแก่พวกภิกษุนิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ”

วิธีลงตัชชนียกรรมและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมอย่างนี้ คือ เบื้องต้นพึงโจทพวกภิกษุ
นิสิตของพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ครั้นแล้วให้ภิกษุเหล่านั้นให้การแล้วจึงปรับ
อาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ
จตุตถกรรมวาจาว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :3 }