เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 1. สุกกวิสัฏฐิ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
อุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอ
มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่ภิกษุอุทายีแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใด
ไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ สงฆ์
ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้น
เป็นมติอย่างนี้”

อัปปฏิจฉันนอัพภาน
ว่าด้วยอัพภานสำหรับอาบัติที่ไม่ได้ปิดไว้
[100] ท่านพระอุทายีนั้นประพฤติมานัตแล้วได้บอกภิกษุทั้งหลายว่า “ท่าน
ทั้งหลาย กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้น
ขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์
สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจะปฏิบัติอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงอัพภาน1ภิกษุ
อุทายี”

เชิงอรรถ :
1 อัพภาน แปลว่า การเรียกเข้าหมู่,การรับกลับเข้าหมู่ เป็นขั้นตอนสุดท้ายแห่งการออกจากอาบัติ
สังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :194 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [3. สมุจจยขันธกะ] 1. สุกกวิสัฏฐิ
วิธีอัพภานและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงอัพภานอย่างนี้ คือ ภิกษุอุทายีนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์
ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง
ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกา-
สุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ กระผมนั้นขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1
ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้น ประพฤติมานัตแล้ว
จึงขออัพภานกับสงฆ์
ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิด
ไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ไม่ได้ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจึงขออัพภานกับสงฆ์ แม้ครั้งที่ 2
ท่านผู้เจริญ กระผมต้องอาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กระผมนั้นขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้
กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้
ปิดไว้แก่กระผม กระผมนั้นประพฤติมานัตแล้วจึงขออัพภานกับสงฆ์ แม้ครั้งที่ 3
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[101] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ต้องอาบัติ 1 ตัว
ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้ ภิกษุอุทายีนั้นขอมานัต 6 ราตรี เพื่ออาบัติ
1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้กับสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัต 6 ราตรี เพื่อ
อาบัติ 1 ตัวชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ไม่ได้ปิดไว้แก่ภิกษุอุทายี ภิกษุอุทายีนั้นได้
ประพฤติมานัตแล้วขออัพภานกับสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงอัพภานภิกษุอุทายี
นี่เป็นญัตติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :195 }