เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [2. ปาริวาสิกขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
77. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มี
พรรษาแก่กว่า
78. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่าเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมสูง
79. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานที่มีพรรษาแก่กว่าเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเป็นรูปที่ 4 พึงให้ปริวาสชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั้นเป็นรูปที่ 20 พึงอัพภาน
กรรมนั้นไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร 79 ข้อของภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน จบ
อัพภานารหวัตตะ จบ
ปาริวาสิกขันธกะ ที่ 2 จบ
ในขันธกะนี้มี 5 เรื่อง

รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
เรื่องพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสยินดีการที่ปกตัตตภิกษุทั้งหลาย
กราบไหว้ ลุกรับ ประนมมือ ทำสามีจิกรรม นำอาสนะมาให้
นำที่นอนมาให้ การล้างเท้า ตั้งตั่งรองเท้า ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า
รับบาตรและจีวร ถูหลังให้ในคราวอาบน้ำ
ปกตัตตภิกษุผู้มีศีลเป็น ที่รักกล่าวตำหนิ
ภิกษุอยู่ปริวาสผู้ยินดีต้องทุกกฏ ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส
ด้วยกันตามลำดับพรรษา และทรงอนุญาตกิจ 5 อย่าง
คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละและภัต
วิธีประพฤติชอบ คือ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสไม่พึงเดินนำหน้าปกตัตตภิกษุ
พอใจที่สุดท้าย ไม่พึงให้ภิกษุนำหน้าและตามเข้าตระกูล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :190 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [2. ปาริวาสิกขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในปาริวาสิกขันธกะ
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกังคธุดงค์ ปิณฑปาติกังคธุดงค์
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เป็นอาคันตุกะไป
และมีอาคันตุกะมา บอกในวันอุโบสถ
ในวันปวารณา สั่งทูตให้บอก
ไปสู่อาวาสและสถานที่มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
ไม่อยู่ในที่มุงบังเดียวกัน เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนพื้นดิน
ไม่พึงนั่งบนอาสนะ เมื่อปกตัตตภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ
ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง เมื่อปกตัตตภิกษุเดินจงกรมอยู่บนที่ต่ำ
ไม่พึงเดินจงกรมในที่สูง หรือเดินจงกรมบนพื้นดิน
ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรม
ไม่พึงอยู่ในที่มุงบังเดียวกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสที่มีพรรษามากกว่า
ทำการใช้ไม่ได้ ราตรีขาด ทำปริวาสให้บริสุทธิ์
ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงทราบวิธีเก็บวัตร
วิธีสมาทานวัตร ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม
ผู้ควรแก่มานัต ผู้ประพฤติมานัตและผู้ควรแก่อัพภาน
พระวินัยธรรมพึงทราบโดยนัยที่คล้ายกัน
รัตติเฉท ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี 3 อย่าง ของภิกษุ
ผู้ประพฤติมานัตมี 4 อย่าง การประพฤติให้ครบกำหนดวัน
กรรม 2 อย่างคล้ายกัน กรรม 3 อย่างนอกจากนั้นเหมือนกัน
ปาริวาสิกขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :191 }