เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [2. ปาริวาสิกขันธกะ] 1. ปาริวาสิกวัตตะ
90. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงนั่งบนอาสนะสูง
91. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานนั่งบนพื้นดิน ไม่พึงนั่งบนอาสนะ
92. ไม่พึงเดินจงกรมในที่จงกรมเดียวกันกับภิกษุผู้ควรแก่อัพภาน
93. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำไม่พึงเดิน
จงกรมในที่จงกรมสูง
94. เมื่อภิกษุผู้ควรแก่อัพภานเดินจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ไม่พึงเดินจงกรม
ในที่จงกรม
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นรูปที่ 4 พึงให้ปริวาสชักเข้าหา
อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นรูปที่ 20 พึงอัพภาน กรรมนั้น
ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
วัตร 94 ข้อของภิกษุผู้อยู่ปริวาส จบ

รัตติเฉท
ว่าด้วยเหตุให้ขาดราตรี 3 อย่าง
[83] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว
ได้ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควร กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้
ว่า “รัตติเฉท1 ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี 3 อย่าง คือ
(1) สหวาสะ (การอยู่ร่วมกัน) (2) วิปปวาสะ (การอยู่ปราศ) (3) อนาโรจนา
(การไม่บอก)2 อุบาลี รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี 3 อย่างนี้แล

เชิงอรรถ :
1 รัตติเฉท แปลว่า ความขาดราตรี หมายถึงเหตุให้ขาดราตรี นับราตรีที่อยู่ปริวาสไม่ได้ พระผู้มีพระภาค
ทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุผู้อยู่ปริวาสและภิกษุผู้ประพฤติมานัต (วิ.อ. 3/475/528)
2 สหวาสะ การอยู่ร่วมกัน หมายถึงการอยู่ในที่มุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
วิปปวาสะ การอยู่ปราศ หมายถึงการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นอยู่รูปเดียว
อนาโรจนา การไม่บอก หมายถึงการไม่บอกแก่พวกภิกษุอาคันตุกะเป็นต้น (วิ.อ. 3/83/266)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :164 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [2. ปาริวาสิกขันธกะ] 1. ปาริวาสิกวัตตะ
ทรงอนุญาตให้เก็บปริวาส
[84] สมัยนั้น ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันเป็นจำนวนมากในกรุงสาวัตถี ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสไม่สามารถจะทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส”

วิธีเก็บปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเก็บปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้
ว่า “ข้าพเจ้าเก็บปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเก็บ
วัตร” วัตรย่อมเป็นอันเก็บแล้ว

ทรงอนุญาตให้สมาทานปริวาส
[85] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายเดินทางออกจากกรุงสาวัตถีไปในที่ต่าง ๆ ภิกษุ
ทั้งหลาย ผู้อยู่ปริวาสสามารถทำปริวาสให้บริสุทธิ์ได้ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส”

วิธีสมาทานปริวาส
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสมาทานปริวาสอย่างนี้ภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงเข้าไปหา
ภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าว
อย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าสมาทานปริวาส” ปริวาสย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว หรือกล่าวว่า
“ข้าพเจ้าสมาทานวัตร” วัตรย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว
ปาริวาสิกวัตตะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :165 }