เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ
และไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ
สงฆ์ไม่พึงระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5
คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ใช้สามเณรอุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ยังสั่งสอน และองค์ 5 อีกอย่างหนึ่ง
คือ ต้องอาบัตินั้น ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้น ต้องอาบัติ
ที่เลวทรามกว่านั้น ตำหนิกรรม ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ งดอุโบสถ ปวารณา
ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น
ให้ภิกษุอื่นให้การและให้ต่อสู้อธิกรณ์กัน ย่อมไม่พ้นความผิด
จากตัชชนียกรรม
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิดนั้น
ภิกษุเสยยสกะโง่เขลา มีอาบัติมากและคลุกคลีกับ
คฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระมหามุนี รับสั่งให้ลง
นิยสกรรม
ภิกษุชื่ออัสสชิและชื่อปุนัพพสุกะอยู่ในกีฏาคีรีชนบท
ไม่สำรวม ประพฤติไม่สมควรต่าง ๆ พระสัมพุทธชินเจ้า
รับสั่งให้ลงปัพพาชนียกรรมในกรุงสาวัตถี
ภิกษุสุธรรมอยู่ประจำในอาวาสของจิตตคหบดี ในเมือง
มัจฉิกาสณฑ์ ด่าจิตตอุบาสกด้วยคำหยาบ กระทบชาติกำเนิด
พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะรู้เห็นอาบัติ พระชินเจ้าผู้อุดม
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติในกรุงโกสัมพี
ภิกษุฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้น พระพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นนายกพิเศษรับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :155 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ภิกษุอริฏฐะเกิดทิฏฐิบาปไปเพราะความเขลา พระชินเจ้า
รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิ
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรมและปฏิสารนียกรรมก็เหมือนกัน
บทเหล่านี้มีเกินในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง
ประพฤติไม่สมควร(อนาจาร) ลบล้างพระบัญญัติและมิจฉาชีพ
เพราะไม่เห็นไม่ทำคืนอาบัติ และไม่สละทิฏฐิบาป
บทเหล่านี้มีเกินในปฏิสารณียกรรม คือ มุ่งความไม่มีลาภ
กล่าวตำหนิ มีชื่อว่าปัญจกะ 2 หมวด ๆ ละ 5
แม้ตัชชนียกรรมและนิยสกรรมก็เหมือนกัน ปัพพาชนียกรรม
และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน 8 ข้อ 2 หมวด
การจำแนกอุกเขปนียกรรม 3 อย่างก็เช่นเดียวกัน
นักวินัยพึงทราบกรรมที่เหลือตามนัยแห่งตัชชนียกรรม
กัมมขันธกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :156 }