เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
ยิ่งขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิด ที่เกิดแล้วก็ขยายตัวออกไป
ภิกษุผู้มักน้อยมีศีลเป็นที่รักพากันตำหนิท่ามกลางบริษัท
พระพุทธชินเจ้าผู้ทรงเป็นพระสยัมภูอัครบุคคล
ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลงตัชชนียกรรมที่กรุงสาวัตถี
ตัชชนียกรรมที่เป็นกรรมไม่ชอบด้วยธรรม เป็นกรรมไม่
ชอบด้วยวินัย คือ

หมวดที่ 1
ลงลับหลัง ลงโดยไม่สอบถาม ไม่ลงตามปฏิญญา

หมวดที่ 2
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว

หมวดที่ 3
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง

หมวดที่ 4
ลงลับหลัง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 5
ลงโดยไม่สอบถาม ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 6
ไม่ลงตามปฏิญญา ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 7
ลงเพราะไม่ต้องอาบัติ ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 8
ลงเพราะอาบัติที่เป็นอเทสนาคามินี ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :153 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในกัมมขันธกะ
หมวดที่ 9
ลงเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 10
ไม่โจทก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 11
ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง

หมวดที่ 12
ไม่ปรับอาบัติก่อนแล้วจึงลง ลงโดยไม่ชอบธรรม
สงฆ์แบ่งพวกกันลง
นักวินัยพึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงข้ามกับฝ่ายที่ผิด
สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 จำพวก คือ
1. ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
2. ผู้วิบัติในอธิสีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
3. ผู้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง เป็นพาล และคลุกคลีกับคฤหัสถ์
2. รูปหนึ่งวิบัติในศีล ในอัชฌาจาร และในอติทิฏฐิ
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้
คือ ไม่ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ใช้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่สั่งสอนภิกษุณี ถึงได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัติ
นั้นอีก ไม่ต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกันนั้นและที่เลวทรามกว่านั้น
ไม่ตำหนิกรรม ไม่ตำหนิภิกษุผู้ทำกรรม ไม่งดอุโบสถและปวารณา
แก่ปกตัตตภิกษุ ไม่ทำการสอบถาม ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :154 }