เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 7. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
จากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาป
เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :133 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 7. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา ฯลฯ เรากล่าวว่า กาม
ทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือน
เขียงหั่นเนื้อ ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนหอกหลาว ฯลฯ เรา
กล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกาม
นี้มีโทษอย่างยิ่ง โมฆบุรุษ ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยทิฏฐิที่ยึดถือไว้ผิด
ชื่อว่าทำลายตนเอง และชื่อว่าประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก โมฆบุรุษ ข้อนั้นจัก
เป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน โมฆบุรุษ การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถาแล้ว
รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นนายพรานฆ่านกแร้ง ห้ามสมโภค
กับสงฆ์”

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่สละทิฏฐิบาปอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นพึงโจทภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง ครั้นแล้วให้ภิกษุอริฏฐะ
ให้การแล้วจึงปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติแล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์
ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[66] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็น
พรานฆ่านกแร้งมีทิฏฐิบาปเกิดขึ้นว่า ‘เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
จนกระทั่งว่าธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่อ
อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ ภิกษุอริฏฐะนั้นไม่ยอมสละทิฏฐินั้น ถ้าสงฆ์พร้อมแล้ว
พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุอริฏฐะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่
เป็นญัตติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :134 }