เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 7. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพ
ได้จริงไม่”
ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะปลดเปลื้องภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้ง
จากทิฏฐิบาปนั้นได้ ครั้นแล้วภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุอริฏฐะผู้มีบรรพบุรุษเป็นพรานฆ่านกแร้งว่า “อริฏฐะ ทราบว่า ทิฏฐิบาป
เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแก่เธอว่า “เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่ง
ว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตราย
แก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่’ จริงหรือ”
ภิกษุอริฏฐะทูลรับว่า “เหมือนจะเป็นอย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่ว
ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วจนกระทั่งว่าธรรมตามที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่าเป็นธรรมก่ออันตรายก็หาสามารถก่ออันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริงไม่”
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร
โมฆบุรุษ เรากล่าวธรรมที่ก่ออันตรายว่าเป็นธรรมก่ออันตรายไว้โดยประการต่าง ๆ
และธรรมเหล่านั้นก็สามารถก่ออันตรายให้แก่ผู้ซ่องเสพได้จริง มิใช่หรือ เรากล่าวว่า
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนร่างโครงกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก ในกามนี้มีโทษอย่างยิ่ง เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฯลฯ
เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนคบเพลิงหญ้า ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลาย
เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เรากล่าวว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนความฝัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :133 }