เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 6. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ 3
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3 อีกอย่างหนึ่ง คือ
1. กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 2. กล่าวติเตียนพระธรรม
3. กล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล

หมวดที่ 4
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อ
ความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. รูปหนึ่งโง่เขลา ไม่ฉลาด มีอาบัติมาก ต้องอาบัติกำหนดไม่ได้
3. รูปหนึ่งอยู่คลุกคลีกับคฤหัสถ์ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล

หมวดที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งมีสีลวิบัติในอธิสีล 2. รูปหนึ่งมีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
3. รูปหนึ่งมีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 3 เหล่านี้แล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :119 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 6. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
หมวดที่ 6
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุอื่นอีก 3 รูป คือ
1. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า 2. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม
3. รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์เมื่อมุ่งหวัง พึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุ 3 รูปเหล่านี้แล
อากังขมานฉักกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ จบ

เตจัตตาฬีสวัตตะ
ว่าด้วยวัตร 43 ข้อ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
[60] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติ
พึงประพฤติชอบ การประพฤติชอบในเรื่องนั้น ดังนี้
1. ไม่พึงให้อุปสมบท
2. ไม่พึงให้นิสัย
3. ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก
4. ไม่พึงรับแต่งตั้งเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
5. แม้ได้รับแต่งตั้งแล้วก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
6. ไม่พึงต้องอาบัติที่เป็นเหตุให้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำ
คืนอาบัติอีก
7. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นทำนองเดียวกัน
8. ไม่พึงต้องอาบัติที่เลวทรามกว่านั้น
9. ไม่พึงตำหนิกรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :120 }