เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 6. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
อาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่
เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่าน
รูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุ
ฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะแล้ว ท่านรูปใดเห็นด้วยกับ
การระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับแล้วแก่ภิกษุฉันนะ สงฆ์
เห็นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือเอาความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติที่ 5 จบ

6. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ(แสดงอาบัติ)
เรื่องภิกษุชื่อฉันนะ
[56] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม เขตกรุง
โกสัมพี ครั้งนั้น ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติ
ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุชื่อ
ฉันนะ ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัติเล่า” ดังนี้แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :108 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 6. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ทรงสอบถามแล้วตำหนิ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุชื่อฉันนะต้องอาบัติแล้ว
ไม่ปรารถนาจะทำคืน จริงหรือ”
พวกภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ไม่
สมควร ฯลฯ ไม่ควรทำเลย ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษนั้นต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
ทำคืนอาบัติเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิแล้ว ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น สงฆ์จงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อ
ฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์”

วิธีลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติอย่างนี้ คือ
เบื้องต้นโจทภิกษุชื่อฉันนะครั้นแล้วให้ภิกษุชื่อฉันนะนั้นให้การปรับอาบัติ ครั้นปรับอาบัติ
แล้ว ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่
ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อฉันนะนี้ต้องอาบัติแล้วไม่ปรารถนา
จะทำคืนอาบัติ สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติแก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้าม
สมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
แก่ภิกษุชื่อฉันนะ ห้ามสมโภคกับสงฆ์ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย
ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ว่า ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :109 }