เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 5. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
หมวดที่ 6
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 อีกอย่างหนึ่ง คือ

1. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ 2. ไม่ใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างเดียรถีย์
3. ไม่คบพวกเดียรถีย์ 4. คบพวกภิกษุ
5. ศึกษาสิกขาบทของภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล (30)

หมวดที่ 7
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 อีกอย่างหนึ่ง คือ
1. ไม่อยู่ในอาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
2. ไม่อยู่ในสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
3. ไม่อยู่ในอาวาสหรือสถานที่มิใช่อาวาสที่มีเครื่องมุงบังเดียวกันกับปกตัตตภิกษุ
4. เห็นปกตัตตภิกษุแล้วลุกจากอาสนะ
5. ไม่รุกรานปกตัตตภิกษุทั้งข้างในหรือข้างนอกวิหาร
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล (35)

หมวดที่ 8
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 คือ
1. ไม่งดอุโบสถแก่ปกตัตตภิกษุ 2. ไม่งดปวารณาแก่ปกตัตตภิกษุ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :106 }


พระวินัยปิฎก จูฬวรรค [1. กัมมขันธกะ] 5. อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ

3. ไม่ทำการไต่สวน 4. ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์
5. ไม่ขอโอกาสภิกษุอื่น 6. ไม่โจทภิกษุอื่น
7. ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ 8. ไม่ชักชวนกันก่อความทะเลาะ

ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุ
ผู้ประกอบด้วยองค์ 8 เหล่านี้แล (43)
ปฏิปัสสัมเภตัพพเตจัตตาฬีสกะ
ในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ จบ

วิธีระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติและกรรมวาจา
[55] ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงระงับอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ
อย่างนี้ คือ ภิกษุฉันนะนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุผู้แก่พรรษาทั้งหลาย นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ
กระผมถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ
หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ กระผมจึงขอระงับอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ
พึงขอแม้ครั้งที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
“ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว พึงระงับอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแก่ภิกษุฉันนะ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุฉันนะนี้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ
ไม่เห็นว่าเป็นอาบัติแล้ว กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับ
อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ สงฆ์ระงับอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :107 }