เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 173. ปาฏลิคามวัตถุ
พระองค์ปูลาดอาสนะ ดาดเพดานทั่วอาคารที่พัก จัดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีป
น้ำมันไว้แล้ว ขอพระองค์ทรงทราบเวลาอันเหมาะสมในบัดนี้เถิด พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปที่อาคารพักแรมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงชำระพระบาทแล้วเสด็จเข้าอาคารที่พัก
ประทับนั่งพิงเสากลาง ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก แม้ภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้ว
เข้าอาคารที่พัก นั่งพิงฝาด้านตะวันตก ผินหน้าไปทางทิศตะวันออกห้อมล้อมพระ
ผู้มีพระภาค แม้อุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปอาคารที่พัก นั่ง
พิงฝาด้านทิศตะวันออกผินหน้าไปทางทิศตะวันตกห้อมล้อมพระผู้มีพระภาค

โทษแห่งศีลวิบัติ 5 ประการ1
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับอุบาสกอุบาสิกาชาวปาฏลิคามว่า “คหบดี
ทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ 5 ประการนี้ โทษ 5 ประการ คือ
1. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อมถึงความเสื่อม
โภคทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษประการ
ที่ 1 แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
2. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันชั่วของบุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อม
กระฉ่อนไป นี้เป็นโทษประการที่ 2 แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
3. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ จะ
เป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัก็ตาม
สมณบริษัทก็ตาม ย่อมไม่แกล้วกล้าเก้อเขินเข้าไป นี้เป็นโทษประการ
ที่ 3 แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
4. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมหลงลืมสติตาย นี้เป็น
โทษประการที่ 4 แห่งศีลวิบัติของคนทุศีล

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/316/209-210, องฺ. ปญฺจก. (แปล) 22/213/355

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :98 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 173. ปาฏลิคามวัตถุ
5. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ หลังจากตายแล้ว ย่อม
ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษข้อที่ 5 แห่งศีล
วิบัติของบุคคลผู้ทุศีล
คหบดีทั้งหลาย ศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีโทษ 5 ประการนี้แล

อานิสงส์แห่งศีลสมบัติ 5 ประการ1
คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มีอานิสงส์ 5 ประการ อานิสงส์
5 ประการนี้ คือ
1. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติในโลกนี้ ย่อมได้โภค
ทรัพย์ใหญ่หลวง ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 1 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
2. คหบดีทั้งหลาย กิตติศัพท์อันดีงามของบุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ
ย่อมกระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 แห่งศีลสมบัติของ
บุคคลผู้มีศีล
3. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ จะเข้าไปยังบริษัทใด ๆ
จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คหบดีบริษัท
ก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมแกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็น
อานิสงส์ประการที่ 3 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
4. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ ย่อมไม่หลงลืมสติตาย นี้
เป็นอานิสงส์ประการที่ 4 แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
5. คหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล มีศีลสมบัติ หลังจากตายแล้ว
ย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 5 แห่ง
ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล
คหบดีทั้งหลาย ศีลสมบัติของบุคคลผู้ทุศีล มีอานิสงส์ 5 ประการนี้แล

เชิงอรรถ :
1 ที.ปา. 11/316/210, องฺ. ปญฺจก. (แปล) 22/213/356

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :99 }