เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 171. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
ต่อมา พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตข้าวต้มและขนมหวาน”

171. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
ว่าด้วยมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่
[283] คนทั้งหลายทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตข้าวต้มและ
ขนมหวานแก่ภิกษุ จึงจัดเตรียมข้าวต้มข้น1และขนมหวานถวายแต่เช้า พวกภิกษุ
ที่รับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานแต่เช้า ฉันภัตตาหารในโรงอาหารไม่ได้ตาม
ต้องการ
สมัยนั้น มหาอมาตย์คนหนึ่งผู้เลื่อมใสใหม่ได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธานเพื่อเจริญกุศลในวันรุ่งขึ้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความคิด
ดังนี้ว่า “ถ้ากระไร เราพึงตกแต่งสำรับเนื้อ 1,250 ที่ เพื่อภิกษุ 1,250 รูป
น้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ 1 ที่” โดยล่วงไปแห่งราตรีนั้น เขาสั่งให้จัดเตรียม
ของฉันอย่างดี และสำรับเนื้อ 1,250 ที่ แล้วให้เจ้าหน้าที่ไปกราบทูลภัตกาล
พระผู้มีพระภาคว่า “ถึงเวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว”
ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร
เสด็จไปนิเวศน์ของมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เขาได้ประเคนภิกษุในโรงอาหาร
พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “มหาอมาตย์ ท่านจงถวายแต่น้อย ๆ เถิด”
มหาอมาตย์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านอย่ารับเพียงน้อย ๆ เพราะคิดว่า
‘นี่เป็นมหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่’ ผมจัดเตรียมของฉันไว้เป็นจำนวนมากพร้อมด้วย

เชิงอรรถ :
1 ข้าวต้มข้น ข้าวต้มที่ควรบริโภค คือมีคติอย่างข้าวสุก (สารตฺถ.ฏีกา 3/283/368)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :90 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 171. ตรุณัปปสันนมหามัตตวัตถุ
สำรับเนื้อ 1,250 ที่ จะน้อมเข้าไปถวายภิกษุรูปละ 1 ที่ ท่านโปรดรับให้พอความ
ต้องการเถิด”
พวกภิกษุกล่าวว่า “มหาอมาตย์ พวกอาตมารับแต่น้อยไม่ใช่เพราะสาเหตุนั้น
แต่พวกอาตมารับประเคนข้าวต้มข้นและขนมหวานมาแต่เช้าแล้ว ดังนั้นจึงต้องรับ
แต่น้อย ๆ”
ครั้งนั้น มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ
ที่ผมนิมนต์ไว้จึงฉันข้าวต้มข้นของผู้อื่นเล่า ผมไม่สามารถจะถวายให้พอแก่ความต้อง
การหรือ” โกรธเสียใจคอยจับผิด ได้บรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลางกล่าวว่า “พวก
ท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้” แล้วได้นำของเคี้ยวของฉันอันประณีตประเคน
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานด้วยตนเองกระทั่งพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จแล้ว
ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ละพระหัตถ์จากบาตร จึงได้นั่งเฝ้า ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นเห็นชัด ชวนให้อยาก
รับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมี
กถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะเสด็จกลับ
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน มหาอมาตย์ผู้เลื่อมใสใหม่นั้นได้มีความกังวล
ได้มีความร้อนใจว่า “ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้ชั่วแล้วหนอ
เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุจนเต็มพลาง
กล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือบาปมากกว่า
กันหนอ” จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้อภิวาทพระผู้มี
พระภาคแล้วนั่งอยู่ ณ ที่สมควรแล้วได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระราชทานวโรกาส เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จกลับไม่นาน ข้าพระองค์ได้มี
ความกังวล ได้มีความร้อนใจว่า ‘ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราไม่มีลาภหนอ เราได้
ชั่วแล้วหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ ที่ไปโกรธเสียใจคอยจับผิดแล้วบรรจุบาตรของภิกษุ
จนเต็มพลางกล่าวว่า พวกท่านจะฉันก็ได้ จะขนเอาไปก็ได้ เราสร้างสมบุญหรือ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :91 }