เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [6. เภสัชชขันธกะ] 160. ปัญจเภสัชชกถา
และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ 2 ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามท่านพระอานนท์
อีกว่า “อานนท์ ทำไมเวลานี้ ภิกษุทั้งหลายจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “เวลานี้ ภิกษุทั้งหลายรับประเคนเภสัช 5 ใน
กาลแล้วฉันในกาล โภชนาหารชนิดธรรมดาที่ฉันประจำวันของภิกษุเหล่านั้นยังไม่
อาจย่อย ไม่จำต้องกล่าวถึงโภชนาหารชนิดที่มีไขมัน ภิกษุทั้งหลายจึงป่วยด้วยอาพาธ
ที่เกิดในฤดูสารท และเบื่อภัตตาหาร เพราะเหตุ 2 ประการนั้น จึงซูบผอม หมองคล้ำ
ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช 5 ฉันได้ทั้ง
ในกาลและในเวลาวิกาล”

เรื่องน้ำมันเหลวที่เป็นยา
[262] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นไข้ต้องการมันเหลวที่เป็นยา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตมันเหลวที่เป็นยา คือ
มันเหลวหมี มันเหลวปลา มันเหลวปลาฉลาม1 มันเหลวหมู มันเหลวลาที่รับ
ประเคนในกาล เจียวในกาล กรองในกาลแล้วฉันอย่างน้ำมัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุรับประเคนมันเหลวในเวลาวิกาล เจียวในเวลาวิกาล
กรองในเวลาวิกาลแล้ว ถ้าภิกษุฉันมันเหลวนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ 3 ตัว

เชิงอรรถ :
1 บางอาจารย์ว่า จระเข้ (สารตฺถ.ฏีกา 3/262/367) ฉบับ PALI TEXT SOCIETY แปลว่า จระเข้ (Book
of the discipline past 4 P. 271) มหาวรรคฉบับภาษาพม่าแปลว่า “ปลาโลมา”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :45 }