เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 272. ทีฆาวุวัตถุ
[464] ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร
และจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลัง
เสวยเสร็จแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะถือบาตรและจีวรประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ตรัส
พระคาถาเหล่านี้ว่า
ภิกษุมีเสียงดังเป็นเสียงเดียวกัน ที่จะรู้สึกว่าตนเป็นพาลนั้น
ไม่มีเลยสักรูปเดียว ยิ่งเมื่อสงฆ์แตกกันก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องอื่น
พวกเธอขาดสติ แสดงตนว่าเป็นบัณฑิต เจ้าคารม พูดได้
ตามที่ปรารถนา จะยื่นปากพูดก็ไม่รู้สึกถึงการทะเลาะ
คนเหล่าใดผูกใจเจ็บว่า
“มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา
มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา”
เวรของคนเหล่านั้น ย่อมระงับไม่ได้เลย
ส่วนคนเหล่าใดไม่ผูกใจเจ็บว่า
“มันได้ด่าเรา มันได้ทำร้ายเรา
มันได้ชนะเรา มันได้ลักของของเรา”
เวรของเขาเหล่านั้น ย่อมระงับได้
ไม่ว่ายุคไหน ๆ ในโลกนี้
เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร
แต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นของเก่า1
คนเหล่าอื่นไม่รู้ชัดว่า
“พวกเรากำลังย่อยยับอยู่ ณ ทีนี้
ส่วนคนเหล่าใด ในหมู่นั้นรู้ชัด

เชิงอรรถ :
1 เป็นของเก่า หมายถึงเป็นข้อปฏิบัติสืบ ๆ กันมาของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ
(ขุ.ธ.อ. 1/4/45)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :354 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 273. พาลกโลณกคมนกถา
ความมุ่งร้ายกันย่อมระงับ
เพราะการปฏิบัติของชนเหล่านั้น
พวกคนที่บั่นกระดูก ฆ่า ลักทรัพย์ คือ โคและม้า
ถึงจะช่วงชิงแว่นแคว้นกันก็ยังกลับมาคบหากันได้อีก
ไฉนพวกเธอจึงคบหากันไม่ได้เล่า
ถ้าบุคคลพึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี1 เป็นปราชญ์
ครอบงำอันตรายทั้งปวงได้แล้ว พึงมีใจแช่มชื่น มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น
ถ้าบุคคลไม่พึงได้สหาย ผู้มีปัญญารักษาตน
เที่ยวไปด้วยกันได้ เป็นสาธุวิหารี เป็นนักปราชญ์ พึงประพฤติอยู่ผู้เดียว
เหมือนพระราชาทรงละทิ้งแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
ประพฤติอยู่พระองค์เดียว
และเหมือนช้างมาตังคะทิ้งโขลงอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น
การเที่ยวไปคนเดียวประเสริฐกว่า
เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
บุคคลนั้นพึงเที่ยวไปคนเดียวและไม่ทำบาป
เหมือนช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อยอยู่ตัวเดียวในป่า ฉะนั้น

273. พาลกโลณกคมนกถา
ว่าด้วยการเสด็จไปพาลกโลณกคาม

เรื่องท่านพระภคุอยู่ ณ พาลกโลณกคาม
[465] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ท่ามกลางสงฆ์นั่นแหละ ตรัสพระ
คาถาเหล่านี้แล้วเสด็จไปทางพาลกโลณกคาม

เชิงอรรถ :
1 สาธุวิหารี หมายถึงผู้เพียบพร้อมด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยนิโรธสมาบัติ (ขุ.จู.30/132/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :355 }