เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็น
พรรคพวกแล้ว
ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบ
กันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้องอาบัติ
ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้
แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจง
เป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนีย
กรรม ได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่าน
ทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูป
นั้นต้องอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ’
พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรม
กล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่น
เป็นอาบัติ นั่นไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้อง
อาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ควรแก่ฐานะ ท่าน
ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น’
พระพุทธเจ้าข้า พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น
แม้อันพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อม
ภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :336 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
[453] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า “ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน
ภิกษุสงฆ์จะแตกกัน”1 เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าไปหาพวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ แล้วได้ตรัสกับภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรม
เหล่านั้นดังนี้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าคิดอย่างนี้ว่า ‘เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่
พวกเรา เรื่องนี้แจ่มแจ้งแก่พวกเรา’ แล้วจ้องแต่จะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุในเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่า
ไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุเหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้แลเป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การ
ศึกษา ถ้าพวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะ
ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องทำอุโบสถแยกจากภิกษุรูปนี้ ความบาดหมาง
ความทะเลาะ ความขัดแย้ง ความวิวาท ความแตกแห่งสงฆ์ ความร้าวรานแห่ง
สงฆ์ ความแบ่งแยกแห่งสงฆ์ การทำสงฆ์ให้เป็นต่าง ๆ กันซึ่งมีเรื่องนั้นเป็นเหตุ
จะมีแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุผู้หนักในความแตกกัน ไม่พึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัติ
นั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ ถ้าภิกษุ
เหล่านั้นรู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านรูปนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ ใฝ่การศึกษา ถ้า
พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนี้เพราะไม่เห็นอาบัติ พวกเราก็จะปวารณา
ร่วมกับภิกษุรูปนี้ไม่ได้ ต้องปวารณาแยกจากภิกษุรูปนี้ จะทำสังฆกรรมร่วมกับภิกษุรูปนี้
ไม่ได้ ต้องทำสังฆกรรมแยกจากภิกษุรูปนี้ จะนั่งร่วมบนอาสนะเดียวกับภิกษุรูปนี้

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุสงฆ์ยังไม่แตกกัน แต่มีเหตุคือความทะเลาะวิวาทที่บ่งบอกว่า จะแตกกันแน่นอนในโอกาสต่อไป เหมือน
เมื่อฝนตกลงมา ชาวนาทั้งหลายก็มักจะกล่าวว่า “ข้าวกล้าสำเร็จแล้ว” เพราะฝนเป็นเครื่องบ่งบอกถึง
ความสำเร็จแห่งข้าวกล้าในโอกาสต่อไปแน่นอน (วิ.อ. 3/453/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :337 }