เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
ก็ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ต่อมา ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาแล้วได้กล่าวอย่างนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อง
อาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ ท่าน
ทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว
ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อน
คบกันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง
อาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรม
หามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่
ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวก
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ได้เข้าไป
หาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่
เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ
หามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้
แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ”
เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมกล่าวอย่างนี้แล้ว
พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้
ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :334 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
เธอถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ชอบธรรม ไม่เป็นความเสียหาย ควรแก่ฐานะ
ท่าน ทั้งหลายอย่าประพฤติตาม อย่าห้อมล้อมภิกษุรูปนั้นผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมนั้น”
พวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเหล่านั้น แม้ถูกพวกภิกษุ
ผู้ลงอุกเขปนียกรรมว่ากล่าวอย่างนี้ ก็ยังประพฤติตาม ยังห้อมล้อมภิกษุผู้ถูกลง
อุกเขปนียกรรมนั้นเหมือนเดิม
[452] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ณ ที่ประทับ
ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควร ภิกษุรูปนั้นผู้นั่งแล้ว ณ ที่
สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส
ภิกษุรูปหนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ต้องอาบัติแล้ว มีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ ต่อมาภิกษุรูปนั้นกลับมีความ
เห็นในอาบัตินั้นว่าไม่เป็นอาบัติ พวกภิกษุอื่นมีความเห็นในอาบัตินั้นว่าเป็นอาบัติ
พระพุทธเจ้าข้า ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า ‘ท่าน
ท่านต้องอาบัติแล้ว ท่านจงเห็นอาบัตินั้น’
ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่ผมจะพึงเห็น’
พระพุทธเจ้าข้า ภายหลัง ภิกษุเหล่านั้นได้ความพร้อมเพรียงแล้วจึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุรูปนั้นเพราะไม่เห็นอาบัติ
พระพุทธเจ้าข้า ก็ ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย
ทรงมาติกา เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง
ใฝ่การศึกษา ต่อมา ภิกษุรูปนั้นได้เข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกัน
มาแล้วได้กล่าวดังนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผม
ไม่ต้องอาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนีย
กรรมหามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม ไม่ควรแก่ฐานะ
ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด’


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :335 }