เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [10. โกสัมพิกขันธกะ] 271. โกสัมพิกวิวาทกถา
ก็ภิกษุรูปนั้นเป็นพหูสูต ชำนาญปริยัติ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา
เป็นบัณฑิต เฉลียวฉลาด มีปัญญา มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา
ต่อมา ภิกษุรูปนั้นเข้าไปหาพวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบกันมาแล้วได้กล่าวอย่างนี้
ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นหาเป็นอาบัติไม่ ผมไม่ต้องอาบัติ ผมต้อง
อาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้ แต่ถูก
ลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ ท่าน
ทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวกแล้ว
ภิกษุรูปนั้นได้ส่งทูตไปในสำนักของพวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเห็นเพื่อน
คบกันมาว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ผมไม่ต้อง
อาบัติ ผมต้องอาบัติหามิได้ ผมไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ผมถูกลงอุกเขปนียกรรม
หามิได้ แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่
ควรแก่ฐานะ ท่านทั้งหลายจงเป็นฝ่ายผมโดยธรรมโดยวินัยเถิด”
ภิกษุรูปนั้นได้พวกภิกษุชาวชนบทที่เป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาเป็นพรรคพวก
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นผู้ประพฤติตามภิกษุที่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ได้เข้าไป
หาพวกภิกษุที่ลงอุกเขปนียกรรมถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นไม่
เป็นอาบัติ นั่นเป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติ
หามิได้ ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรม ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้
แต่ถูกลงอุกเขปนียกรรมด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรม เป็นความเสียหาย ไม่ควรแก่ฐานะ”
เมื่อพวกภิกษุผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมกล่าวอย่างนี้แล้ว
พวกภิกษุผู้ลงอุกเขปนียกรรมจึงกล่าวดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นั่นเป็นอาบัติ นั่น
ไม่เป็นอาบัติหามิได้ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ต้องอาบัติหามิได้
ภิกษุรูปนั้นถูกลงอุกเขปนียกรรมแล้ว ภิกษุรูปนั้นไม่ถูกลงอุกเขปนียกรรมหามิได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :334 }