เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 263. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ไม่ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[442] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยชอบธรรมระงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวก
โดยไม่ชอบธรรม กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรม
ทำไม่ดี ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่
ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[443] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูประงับตัชชนียกรรม
แก่ภิกษุรูปนั้น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :320 }