เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 262. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
5 วาระนี้ท่านย่อไว้

262. อัปปฏินิสสัคคอุกเขปนียกัมมวิวาทกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
[439] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาป
ถ้าภิกษุทั้งหลายปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ไม่ปรารถนา
สละทิฏฐิบาป เอาละ พวกเราจะลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่ภิกษุ
รูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปแก่
ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบธรรม ...
... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ธรรมปฏิรูป” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้อง
ทำใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
5 วาระนี้ท่านย่อไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :318 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 263. ตัชชนียกัมมปกิปัสสัทธิกถา
263. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยความขัดแย้งในการระงับตัชชนียกรรม
[440] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย
ธรรมปฏิรูป กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี
ต้องทำใหม่”
บรรดาภิกษุในที่ประชุมนั้น พวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมแบ่งพวกกันโดยไม่
ชอบธรรม” และพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า “กรรมไม่เป็นอันทำ กรรมทำไม่ดี ต้องทำ
ใหม่” จัดเป็นฝ่ายธรรมวาทีในที่ประชุมนั้น
[441] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้ถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว
กลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ พวกเรา
จะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุรูปนั้น” แล้วพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น
สงฆ์ผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นกล่าวแย้งว่า “กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม กรรม
พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม กรรมแบ่งพวกโดย

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :319 }