เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 249. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
บาปแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปแก่ภิกษุรูปนั้น ... ... พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ... ... แบ่งพวกโดยชอบ
ธรรม ... ... แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ... ... พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ...
พึงหมุนเวียนเหมือนที่ผ่านมา1

249. ตัชชนียกัมมปฏิปัสสัทธิกถา
ว่าด้วยการระงับตัชชนียกรรม
[418] ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้วกลับ
ประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม ถ้าภิกษุทั้งหลาย
ปรึกษากันในเรื่องนั้นอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้แลถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรม
แล้วกลับประพฤติชอบ หายเย่อหยิ่ง กลับตัวได้ ขอระงับตัชชนียกรรม เอาละ
พวกเราจะระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น” แล้วแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรมระงับตัชชนีย
กรรมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุนั้นไปจากอาวาสนั้นสู่อาวาสอื่น

เชิงอรรถ :
1 กรรมทั้ง 5 อย่างดังกล่าวมานี้ เรียกโดยรวมว่า “นิคคหกรรม” ความหมายและสาเหตุที่ทำให้ภิกษุ
ถูกทำนิคคหกรรมแต่ละอย่าง สรุปได้ดังนี้
1. ตัชชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขู่ สงฆ์ลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุผู้ก่อ
ความบาดหมาง ก่อความทะเลาะ ก่อความวิวาท ก่อเรื่องอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์
2. นิยสกรรม แปลว่า กรรมคือการถอดยศ สงฆ์ลงนิยสกรรมแก่ภิกษุผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด มี
อาบัติมาก ไม่มีมารยาท
3. ปัพพาชนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรขับไล่ สงฆ์ลงปัพพาชนียกรรมแก่
ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล มีมารยาทเลวทราม
4. ปฏิสารณียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรให้กลับระลึกได้ สงฆ์ทำปฏิสารณีย
กรรมแก่ภิกษุผู้ด่าบริภาษคฤหัสถ์
5. อุกเขปนียกรรม แปลว่า กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้ควรยกเสียจากหมู่ สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมแก่ภิกษุผู้แม้ต้องอาบัติก็ไม่ปรารถนาจะเห็นว่าเป็นอาบัติ แม้ต้องอาบัติแล้วก็ไม่ปรารถนา
จะทำคืน (แสดง) อาบัติ แม้มีทิฏฐิบาปก็ไม่ปรารถนาจะสละทิฏฐิบาปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :305 }