เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 240. อธัมมกัมมาทิกถา
240. อธัมมกัมมาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่ไม่ชอบธรรมเป็นต้น

เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรม 7 กรณี
[397] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว จงทำคืนอาบัตินั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุ
หลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น”
ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุนั้นเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึง
ทำคืน สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย
ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุนั้น
เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่ทำคืนอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีทิฏฐิบาปที่
พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือ รูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :285 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 240. อธัมมกัมมาทิกถา
เห็นอาบัตินั้นไหม ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ไม่มีทิฏฐิบาป
ที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูปหรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว
จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า
“ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุนั้นเพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่ากรรมไม่ชอบ
ธรรม
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุไม่มีอาบัติที่พึงเห็น ไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน
ไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ สงฆ์ ภิกษุหลายรูป หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน
ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม จงทำคืนอาบัตินั้น ท่านมีทิฏฐิบาป จงสละ
ทิฏฐิบาปนั้น” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมไม่มีอาบัติที่พึงเห็น
ผมไม่มีอาบัติที่พึงทำคืน ผมไม่มีทิฏฐิบาปที่พึงสละ” สงฆ์จึงลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
นั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ เพราะไม่ทำคืนอาบัติ หรือเพราะไม่สละทิฏฐิบาป ชื่อว่า
กรรมไม่ชอบธรรม

เรื่องการลงอุกเขปนียกรรมที่ไม่ชอบธรรมอีก 7 กรณี
[398] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ภิกษุมีอาบัติที่พึงเห็น สงฆ์ ภิกษุหลายรูป
หรือรูปเดียวโจทภิกษุนั้นว่า “ท่าน ท่านต้องอาบัติแล้ว เห็นอาบัตินั้นไหม” ภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ขอรับ ผมเห็น” สงฆ์ยังขืนลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุนั้นเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :286 }