เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 236. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กรรม 6 ประเภท
[387] ภิกษุทั้งหลาย กรรมมี 6 ประเภทเหล่านี้ คือ

1. กรรมไม่ชอบธรรม(อธัมมกรรม)1 2. กรรมแบ่งพวก(วัคคกรรม)
3. กรรมพร้อมเพรียงกัน(สมัคคกรรม) 4. กรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิ-
รูป(ธัมมปฏิรูปวัคคกรรม)
5. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม 6. กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ปฏิรูป(ธัมมปฏิรูปสมัคคกรรม) ชอบธรรม(ธัมมสมัคคกรรม)

อธิบายกรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 1 ครั้ง ไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 2 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 1 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 2 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 1 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 2 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้ เป็นชื่อของบาลี (พระไตรปิฎก) (วิ.อ. 3/378/239) ไม่ชอบธรรม จึงหมายถึง ไม่ถูกต้อง
ตามพระบาลี ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :271 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 236. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 3 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 4 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 1 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 2 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 3 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 4 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่ากรรมไม่ชอบธรรม (1)

อธิบายกรรมที่แบ่งพวกทำ
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมที่แบ่งพวก อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้มา
ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้าก็คัดค้าน ชื่อว่า
กรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา แต่ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะไม่ได้นำมา ภิกษุที่อยู่พร้อมหน้า
กันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าภิกษุผู้เข้ากรรมกำหนดจำนวนไว้เท่าใด
ภิกษุเหล่านั้นมา ฉันทะของภิกษุผู้ควรแก่ฉันทะก็ได้นำมาแล้ว แต่ภิกษุที่อยู่พร้อม
หน้ากันแล้วคัดค้าน ชื่อว่ากรรมที่แบ่งพวก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :272 }