เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 236. ญัตติวิปันนกัปปาทิกถา
กรรม 6 ประเภท
[387] ภิกษุทั้งหลาย กรรมมี 6 ประเภทเหล่านี้ คือ

1. กรรมไม่ชอบธรรม(อธัมมกรรม)1 2. กรรมแบ่งพวก(วัคคกรรม)
3. กรรมพร้อมเพรียงกัน(สมัคคกรรม) 4. กรรมแบ่งพวกโดยธรรมปฏิ-
รูป(ธัมมปฏิรูปวัคคกรรม)
5. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรม 6. กรรมพร้อมเพรียงกันโดย
ปฏิรูป(ธัมมปฏิรูปสมัคคกรรม) ชอบธรรม(ธัมมสมัคคกรรม)

อธิบายกรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ชอบธรรม อะไรบ้าง คือ ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติ
ทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 1 ครั้ง ไม่สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่
ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 2 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 1 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติทุติยกรรม ถ้าทำกรรมด้วยกรรมวาจา 2 ครั้ง แต่ไม่
ตั้งญัตติ ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 1 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในญัตติจตุตถกรรม ถ้าทำกรรมด้วยญัตติ 2 ครั้ง แต่ไม่
สวดกรรมวาจา ชื่อว่ากรรมไม่ชอบธรรม

เชิงอรรถ :
1 ธรรม ในที่นี้ เป็นชื่อของบาลี (พระไตรปิฎก) (วิ.อ. 3/378/239) ไม่ชอบธรรม จึงหมายถึง ไม่ถูกต้อง
ตามพระบาลี ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :271 }