เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 235. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุใน
กรุงจัมปาจึงทำกรรมเช่นนี้เล่า คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์
ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์บ้าง” ครั้นแล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้
ทรงทราบ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุในกรุง
จัมปาทำกรรมเช่นนี้ คือ ทำกรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ฯลฯ สงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมสงฆ์บ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ ฯลฯ ครั้นทรงตำหนิทรงแสดงธรรมีกถา
แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า

เรื่องพระผู้มีพระภาคตรัสห้ามเพราะไม่ชอบธรรม
[383] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่
ควรทำ ถ้าเป็นกรรมที่แบ่งพวกโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ถ้า
กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยธรรมปฏิรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูป
เดียวลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียว
ลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ 2 รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุรูปเดียวลง
อุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ 2 รูปลงอุกเขปนีย
กรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ 2 รูปลงอุกเขปนียกรรม
ภิกษุ 2 รูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ 2 รูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ
หลายรูป ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุ 2 รูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :267 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 235. อธัมมวัคคาทิกัมมกถา
จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุรูปเดียว ไม่จัด
เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุ 2 รูป ไม่จัดเป็น
กรรมและไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมภิกษุหลายรูป ไม่จัดเป็นกรรม
และไม่ควรทำ ภิกษุหลายรูปลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมสงฆ์ ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ

กรรม 4 ประเภท
[384] ภิกษุทั้งหลาย กรรม มี 4 ประเภทเหล่านี้ คือ
1. กรรมแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมวัคคกรรม)
2. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม (อธัมมสมัคคกรรม)
3. กรรมแบ่งพวกโดยชอบธรรม (ธัมมวัคคกรรม)
4. กรรมพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม (ธัมมสมัคคกรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
นี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย
กรรมเช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะไม่ชอบธรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม
เช่นนี้ไม่ควรทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่แบ่งพวกโดยชอบธรรมนี้ก็
ชื่อว่าไม่ถูกต้อง ไม่ควรแก่เหตุ เพราะแบ่งพวก ภิกษุทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ไม่ควร
ทำและเราก็ไม่อนุญาต
ภิกษุทั้งหลาย ในกรรม 4 ประเภทนั้น กรรมที่พร้อมเพรียงกันโดยชอบ
ธรรมนี้ชื่อว่าถูกต้อง ควรแก่เหตุ เพราะชอบธรรม เพราะพร้อมเพรียงกัน ภิกษุ
ทั้งหลาย กรรมเช่นนี้ควรทำและเราก็อนุญาต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :268 }