เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 232. อัฏฐจีวรมาติกา
กับผู้รับ อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอา
ไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝากนั้น อย่างนี้ชื่อว่า
อธิษฐานไม่ถูกต้อง แต่ถือเอาเองเพราะวิสาสะกับผู้รับชื่อว่าถือเอาถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ผมขอถวาย
จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้รับมรณ-
ภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง แต่ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝากชื่อว่าถือเอาไม่ถูกต้อง
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวรไปกับภิกษุด้วยกล่าวว่า “ท่านจง
ถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุผู้รับฝากได้ทราบข่าวว่า “ผู้ฝาก
และผู้รับทั้ง 2 มรณภาพเสียแล้ว” จึงอธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้ฝาก
อย่างนี้ชื่อว่าอธิษฐานไม่ถูกต้อง อธิษฐานเป็นจีวรมรดกของภิกษุผู้รับชื่อว่าอธิษฐาน
ถูกต้อง

232. อัฏฐจีวรมาติกา
ว่าด้วยจีวรที่เกิดขึ้นมี 8 มาติกา

เรื่องมาติกาแห่งจีวร 8 ข้อ
[379] ภิกษุทั้งหลาย มาติกาเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจีวร มี 8 อย่างนี้ คือ
1. ถวายแก่สีมา 2. ถวายตามกติกา
3. ถวายในที่จัดภิกษาหาร 4. ถวายแก่สงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :255 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 233. รวมเรื่องที่มีในจีวรขันธกะ
5. ถวายแก่สงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย 6. ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว
(คือภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์)
7. ถวายเจาะจง 8. ถวายแก่บุคคล
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สีมา ได้แก่ ภิกษุที่อยู่ในสีมามีจำนวนเท่าใด ภิกษุเหล่านั้น
พึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายตามกติกา ได้แก่ อาวาสจำนวนมาก มีลาภเสมอกัน คือ เมื่อ
ทายกถวายในวัดหนึ่งชื่อว่าเป็นอันถวายทุกวัด
ที่ชื่อว่า ถวายในที่จัดภิกษาหาร ได้แก่ ทายกทำสักการะเป็นประจำแก่สงฆ์
ในที่ใด ถวายในที่นั้น
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ ได้แก่ สงฆ์อยู่พร้อมหน้ากันแบ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ 2 ฝ่าย ได้แก่ ภิกษุแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มี
ภิกษุณีอยู่รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง ภิกษุณีแม้จะมีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่มีภิกษุอยู่
รูปเดียว พึงให้ฝ่ายละครึ่ง
ที่ชื่อว่า ถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ได้แก่ ภิกษุมีจำนวนเท่าใดอยู่จำพรรษา
แล้วในอาวาสนั้น ภิกษุเหล่านั้นพึงแบ่งกัน
ที่ชื่อว่า ถวายเจาะจง ได้แก่ ถวายเฉพาะข้าวต้ม ภัตตาหาร ของเคี้ยว จีวร
เสนาสนะ หรือเภสัช
ที่ชื่อว่า ถวายแก่บุคคล ได้แก่ ถวายด้วยกล่าวว่า “เราถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุ
ชื่อนี้”
จีวรขันธกะที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :256 }