เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 230. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ทำลายสงฆ์ ปฏิญญาเป็นผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิต ปฏิญญาเป็น
อุภโตพยัญชนก สงฆ์เป็นเจ้าของจีวรนั้น

230. สังฆภินเนจีวรุปปาทกถา
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งจีวรเมื่อสงฆ์แตกกัน

เรื่องสงฆ์แตกกัน
[376] ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ที่จำพรรษาแล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวาย
จีวรในฝ่ายหนึ่งด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายแก่สงฆ์” นั่นเป็นของสงฆ์เท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายหนึ่ง
ด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษา
แล้ว สงฆ์แตกกัน คนทั้งหลายในถิ่นนั้นถวายน้ำในฝ่ายหนึ่ง ถวายจีวรในฝ่ายนั้น
เหมือนกันด้วยกล่าวว่า “พวกเราขอถวายเฉพาะฝ่าย” นั่นเป็นของเฉพาะฝ่ายเท่านั้น
ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อจีวรเกิดขึ้นแก่ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาแล้ว
แต่ยังไม่ได้แบ่ง สงฆ์แตกกัน พึงแบ่งส่วนให้ภิกษุทุกรูปเท่า ๆ กัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :252 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 231. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
231. ทุคคหิตสุคคหิตาทิกถา
ว่าด้วยจีวรที่ถือเอาไม่ดีและถือเอาดีเป็นต้น

เรื่องพระเรวตะฝากจีวร
[377] สมัยนั้น ท่านพระเรวตะฝากจีวรไปกับภิกษูรูปหนึ่งให้นำไปถวาย
ท่านพระสารีบุตรด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่พระเถระ”
ลำดับนั้น ในระหว่างทาง ภิกษุรูปนั้นได้ถือเอาจีวรนั้นเพราะวิสาสะกับท่าน
พระเรวตะ ต่อมา ท่านพระเรวตะมาพบท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า “ผมฝากจีวร
มาถวาย ท่านได้รับแล้วหรือขอรับ”
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า “ท่าน ผมยังไม่เห็นจีวรนั้นเลย”
ต่อมา ท่านพระเรวตะได้ถามภิกษุผู้รับฝากนั้นว่า “ท่าน ผมฝากจีวรกับท่าน
ให้นำไปถวายพระเถระ จีวรนั้นอยู่ที่ไหน”
ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “ท่าน ผมได้ถือเอาจีวรนั้นแล้วเพราะวิสาสะกับท่าน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เรื่องการถือเอาของฝากโดยวิสาสะ
และการอธิษฐานเป็นจีวรมรดก

กรณีที่ 1 ฝากไปด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวาย...”
[378] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ภิกษุฝากจีวร
ไปกับภิกษุด้วยสั่งว่า “ท่านจงถวายจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” ในระหว่างทาง ภิกษุ
ผู้รับฝาก ถือเอาจีวรเองเพราะวิสาสะกับภิกษุผู้รับนั้น อย่างนี้ชื่อว่าถือเอาดี แต่
ถือเอาเพราะวิสาสะกับผู้ฝาก ชื่อว่าถือเอาไม่ดี

 


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :253 }