เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 229. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
229. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
ว่าด้วยจีวรยังไม่เกิดแก่ภิกษุผู้จำพรรษา

เรื่องจีวรยังไม่เกิดขึ้นภิกษุหลีกไป
[373] สมัยนั้น พวกภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น พากัน
หลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้
บอกลาสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุบ้าง1 ปฏิญญาเป็นคนวิกลจริตบ้าง
ปฏิญญาเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นคนกระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง2 ปฏิญญาเป็นคน

เชิงอรรถ :
1 ต้องอันติมวัตถุ ได้แก่ ต้องอาบัติปาราชิก
2 บัณเฑาะก์มี 5 ประเภท คือ
1. คนที่ดับความใคร่เร่าร้อน (เพราะกาม) ของตนโดยการใช้น้ำอสุจิผู้อื่นราดตัวเอง ชื่อว่า อาสิตต
บัณเฑาะก์
2. เมื่อเกิดความริษยาขึ้น คนที่เมื่อเห็นผู้อื่นประพฤติล่วงเกินกัน ความเร่าร้อนจึงระงับ ชื่อว่า
อุสูยบัณเฑาะก์
3. คนที่ถูกตัดองคชาต ชื่อว่า โอปักกมิกบัณเฑาะก์
4. คนที่เป็นบัณเฑาะก์ในเวลาข้างแรมด้วยอานุภาพอกุศลวิบาก แต่ในเวลาข้างขึ้น ความเร่าร้อน
ย่อมระงับไป ชื่อว่า ปักขบัณเฑาะก์
5. คนที่เป็นบัณเฑาะก์โดยกำเนิด ชื่อว่า นปุงสกบัณเฑาะก์
ในบัณเฑาะก์ 5 ประเภทนี้
อาสิตตบัณเฑาะก์ และอุสูยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา
ส่วนบัณเฑาะก์อีก 3 ประเภทที่เหลือ ห้ามบรรพชา
อนึ่งในกุรุนทีกล่าวว่า ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาเฉพาะในปักษ์ที่เป็นบัณเฑาะก์ (ข้างแรม) (วิ.อ. 3/
109/81-82)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :249 }