เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 228. สัพพนีลกาทิปฏิกเขปกถา
โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้นุ่งผ้าเปลือกปอเล่า โมฆบุรุษ การทำอย่างนี้ มิได้เป็น
ไปเพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดง
ธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงนุ่งผ้าทำด้วยเปลือกปอ
รูปใดพึงนุ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ”

228. สัพพนีลกาทิปฏิกเขปกถา
ว่าด้วยทรงห้ามจีวรสีเขียวล้วนเป็นต้น

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วนเป็นต้น
[372] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ห่มจีวรสีเหลือง
ล้วน ... ห่มจีวรสีแดงล้วน ... ห่มจีวรสีบานเย็นล้วน ... ห่มจีวร สีดำล้วน ... ห่มจีวร
สีแสดล้วน ... ห่มจีวรสีชมพูล้วน ... ห่มจีวรที่ไม่ตัดชาย ... ห่มจีวรมีชายยาว ...
ห่มจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ... ห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ... สวมเสื้อ ... สวมหมวก
... โพกศีรษะ
คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ
ศากยบุตรจึงใช้ผ้าโพกศีรษะเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่มจีวรสีเขียวล้วน ... ไม่
พึงห่มจีวรสีเหลืองล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแดงล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีบานเย็นล้วน ...
ไม่พึงห่มจีวรสีดำล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีแสดล้วน ... ไม่พึงห่มจีวรสีชมพูล้วน ... ไม่
พึงห่มจีวรที่ไม่ตัดชาย ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายยาว ... ไม่พึงห่มจีวรมีชายลายดอกไม้
... ไม่พึงห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น ...ไม่พึงสวมเสื้อ ... ไม่พึงสวมหมวก ... ไม่พึงใช้ผ้า
โพกศีรษะ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :248 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 229. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
229. วัสสังวุตถานังอนุปปันนจีวรกถา
ว่าด้วยจีวรยังไม่เกิดแก่ภิกษุผู้จำพรรษา

เรื่องจีวรยังไม่เกิดขึ้นภิกษุหลีกไป
[373] สมัยนั้น พวกภิกษุที่จำพรรษาแล้ว เมื่อจีวรยังไม่เกิดขึ้น พากัน
หลีกไปบ้าง สึกบ้าง มรณภาพบ้าง ปฏิญญาเป็นสามเณรบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้
บอกลาสิกขาบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุบ้าง1 ปฏิญญาเป็นคนวิกลจริตบ้าง
ปฏิญญาเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านบ้าง ปฏิญญาเป็นคนกระสับกระส่ายเพราะเวทนาบ้าง
ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูก
สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติบ้าง ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย
กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปบ้าง ปฏิญญาเป็นบัณเฑาะก์บ้าง2 ปฏิญญาเป็นคน

เชิงอรรถ :
1 ต้องอันติมวัตถุ ได้แก่ ต้องอาบัติปาราชิก
2 บัณเฑาะก์มี 5 ประเภท คือ
1. คนที่ดับความใคร่เร่าร้อน (เพราะกาม) ของตนโดยการใช้น้ำอสุจิผู้อื่นราดตัวเอง ชื่อว่า อาสิตต
บัณเฑาะก์
2. เมื่อเกิดความริษยาขึ้น คนที่เมื่อเห็นผู้อื่นประพฤติล่วงเกินกัน ความเร่าร้อนจึงระงับ ชื่อว่า
อุสูยบัณเฑาะก์
3. คนที่ถูกตัดองคชาต ชื่อว่า โอปักกมิกบัณเฑาะก์
4. คนที่เป็นบัณเฑาะก์ในเวลาข้างแรมด้วยอานุภาพอกุศลวิบาก แต่ในเวลาข้างขึ้น ความเร่าร้อน
ย่อมระงับไป ชื่อว่า ปักขบัณเฑาะก์
5. คนที่เป็นบัณเฑาะก์โดยกำเนิด ชื่อว่า นปุงสกบัณเฑาะก์
ในบัณเฑาะก์ 5 ประเภทนี้
อาสิตตบัณเฑาะก์ และอุสูยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา
ส่วนบัณเฑาะก์อีก 3 ประเภทที่เหลือ ห้ามบรรพชา
อนึ่งในกุรุนทีกล่าวว่า ปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาเฉพาะในปักษ์ที่เป็นบัณเฑาะก์ (ข้างแรม) (วิ.อ. 3/
109/81-82)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :249 }