เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 224. คิลานวัตถุกถา
4. บอกอาการไข้ตามเป็นจริงแก่ผู้พยาบาลไข้ที่มุ่งประโยชน์ คือ บอก
อาการไข้ที่กำเริบว่ากำเริบ อาการไข้ที่ทุเลาว่าทุเลา อาการไข้ที่
ทรงอยู่ว่าทรงอยู่
5. เป็นคนอดทนต่อความรู้สึกทางกายที่เกิดขึ้น เป็นทุกข์แสนสาหัส
กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะคร่าชีวิต
ภิกษุทั้งหลาย คนไข้ที่มีอาการ 5 อย่างนี้แล พยาบาลได้ง่าย

บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 ไม่ควรพยาบาลคนไข้ คือ
1. ไม่สามารถจัดยา
2. ไม่รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงเข้าไปให้ นำของไม่
แสลงออกไป
3. พยาบาลคนไข้เพราะเห็นแก่อามิส ไม่มีจิตเมตตา
4. รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายหรือของที่อาเจียนออกมา
ไปเททิ้ง
5. ไม่สามารถพูดให้คนไข้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้
อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เป็น
บางครั้งบางคราว
ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ไม่ควรพยาบาล
คนไข้

บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์ 5 ควรพยาบาลภิกษุไข้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 ควรพยาบาล
ภิกษุไข้ คือ
1. สามารถจัดยา
2. รู้จักของแสลงและไม่แสลง คือ นำของแสลงออกไป นำของไม่แสลง
เข้ามาให้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :242 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 225. มตสัจตกกถา
3. ไม่พยาบาลคนไข้เพราะเห็นแก่อามิส มีจิตเมตตา
4. ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลายหรือของที่อาเจียนออกมา
ไปเททิ้ง
5. สามารถพูดให้คนไข้เห็นชัด ชวนให้อยากรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญ
แกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เป็นบางครั้ง
บางคราว
ภิกษุทั้งหลาย ผู้พยาบาลภิกษุไข้ที่ประกอบด้วยองค์ 5 นี้แล ควรพยาบาล
คนไข้

225. มตสันตกกถา
ว่าด้วยการให้บริขารของภิกษุมรณภาพแก่ผู้พยาบาลไข้

เรื่องภิกษุและสามเณรเป็นไข้
[367] สมัยนั้น ภิกษุ 2 รูปเดินทางไกลไปในแคว้นโกศล เธอทั้ง 2 เดิน
ทางไปยังอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งในอาวาสนั้นเป็นไข้
ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาค
ทรงสรรเสริญการพยาบาลภิกษุไข้ พวกเราจงพยาบาลภิกษุรูปนี้กันเถิด” แล้วพากัน
พยาบาลภิกษุไข้นั้น
เธอได้รับการพยาบาลอยู่ได้มรณภาพลง
ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นถือเอาบาตรและจีวรของเธอไปกรุงสาวัตถี แล้วกราบทูล
เรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมรณภาพ สงฆ์เป็นเจ้าของ
บาตรและจีวรแต่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้เป็นผู้มีอุปการะมาก ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สงฆ์มอบไตรจีวรและบาตรแก่ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :243 }