เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 216. ฉินทกจีวรานุชานนา
หลายรูป แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลดังนี้ว่า “ขอพระองค์โปรดทอด
พระเนตรจีวรที่ข้าพระองค์จัดทำแล้ว พระพุทธเจ้าข้า”

ตรัสสรรเสริญพระอานนท์
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ
สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต ภิกษุทั้งหลาย อานนท์
มีปัญญามาก ที่เข้าใจความหมายที่เรากล่าวย่อ ๆ ได้อย่างพิสดาร เธอทำผ้ากุสิบ้าง
ทำผ้าอัฑฒกุสิบ้าง ทำผ้ามณฑลบ้าง ทำผ้าอัฑฒมณฑลบ้าง ทำผ้าวิวัฏฏะบ้าง
ทำผ้าอนุวิวัฏฏะบ้าง ทำผ้าคีเวยยกะบ้าง ทำผ้าชังเฆยยกะบ้าง ทำผ้าพาหันตะบ้าง1
จีวรเป็นผ้าที่ต้องตัด เศร้าหมองเพราะศัสตรา เหมาะแก่สมณะ และพวกโจรไม่
ต้องการ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสังฆาฏิตัด อุตตราสงค์ตัด และอันตรวาสกตัด

เชิงอรรถ :
1 ผ้ากุสิ คือ ผ้ายาวที่ติดขอบจีวรทั้งด้านยาวและด้านกว้าง (อนุวาต)
ผ้าอัฑฒกุสิ คือ ผ้าสั้นที่แทรกอยู่เป็นตอน ๆ ในระหว่างผ้ายาว
ผ้ามณฑล คือ ผ้ามีบริเวณกว้างใหญ่ในแต่ละตอนของจีวร 5 ตอน (จีวร 5 ขัณฑ์)
ผ้าอัฑฒมณฑล คือ ผ้ามีบริเวณเล็ก ๆ
ผ้าวิวัฏฏะ คือ ตอน (ขัณฑ์) ของผ้าที่อยู่ตรงกลางซึ่งเย็บผ้ามณฑลและอัฑฒมณฑลเข้าด้วยกัน
ผ้าอนุวิวัฏฏะ คือ ผ้า 2 ตอน (ขัณฑ์) ที่อยู่ 2 ด้านของจีวร
ผ้าคีเวยยกะ คือ ผ้าที่เอาด้ายเย็บเล็มทาบเข้ามาทีหลังเพื่อทำให้แน่นหนา บริเวณที่พันรอบคอ
ผ้าชังเฆยยกะ คือ ผ้าที่เอาด้ายเย็บทาบเข้าทีหลัง บริเวณที่ปิดแข้ง
ผ้าพาหันตะ คือ ผ้าทั้ง 2 ด้าน (ของจีวร) ที่ภิกษุเมื่อห่มจีวรขนาดพอดี จะม้วนมาพาดไว้บนแขน
หันหน้าออกด้านนอก (วิ.อ. 3/345/217)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :214 }