เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 214. ภัณฑาคารสัมมติอาทิกถา
สงฆ์แต่งตั้งภิกษุชื่อนี้ให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะเหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

เรื่องวิธีแจกจีวร
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า “ควรแจกจีวร
อย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้คัดเลือกผ้าก่อนแล้ว
พิจารณาคิดถัวกัน นับภิกษุแล้วผูกผ้าเป็นมัดตั้งส่วนจีวรไว้”

เรื่องวิธีให้ส่วนแบ่ง
สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า “พึงให้ส่วนจีวร
แก่สามเณรอย่างไร”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบแก่สามเณร
ครึ่งส่วน”1

เรื่องให้แลกส่วนของตน
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางโดยจะรับส่วนของตนไปด้วย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนของตนแก่
ภิกษุผู้รีบเดินทาง”

เชิงอรรถ :
1 สามเณร ในที่นี้ หมายเอาสามเณรที่อวดตัวเองว่าเป็นใหญ่ ไม่ช่วยทำกิจที่พึงทำแก่ภิกษุเหล่าอื่นมุ่งแต่
จะเรียนบาลีและอรรถกถา ทำวัตรปฏิบัติแก่อุปัชฌาย์อาจารย์เท่านั้น ไม่ทำแก่คนอื่น สามเณรเหล่านี้
ควรให้ส่วนแบ่งครึ่งเดียว (วิ.อ. 3/343/213)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :208 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [8. จีวรขันธกะ] 215. จีวรรชนกถา
เรื่องให้ส่วนพิเศษ
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะรีบเดินทางไปกับส่วนพิเศษ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้มอบส่วนพิเศษในเมื่อ
ให้สิ่งทดแทน”

เรื่องวิธีให้ส่วนจีวร
สมัยนั้น ภิกษุเจ้าหน้าที่แจกจีวรได้มีความคิดดังนี้ว่า พึงให้ส่วนจีวร(ส่วนที่
ไม่พอแจก)อย่างไรหนอ คือ จะให้ตามลำดับผู้มาถึงหรือตามลำดับพรรษา
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมยอมส่วนที่พร่อง
แล้วจับสลาก”

215. จีวรรชนกถา
ว่าด้วยน้ำย้อมจีวร

เรื่องย้อมจีวรด้วยโคมัย
[344] สมัยนั้น พวกภิกษุใช้โคมัยบ้าง ดินแดงบ้าง ย้อมจีวร จีวรมีสีคล้ำ
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม 6 ชนิด คือ
น้ำย้อมจากรากไม้ น้ำย้อมจากต้นไม้ น้ำย้อมจากเปลือกไม้ น้ำย้อมจากใบไม้
น้ำย้อมจากดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :209 }