เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [9. จัมเปยยขันธกะ] 205. ราชคหเสฏฐิวัตถุ
เงินไปเป็นจำนวนมาก นายแพทย์หลายคนบอกเลิกรักษา นายแพทย์บางพวก
กล่าวว่า “เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ 5” นายแพทย์บางพวกกล่าวว่า
“เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ 7”
ต่อมา คณะกุฎุมพีชาวกรุงราชคฤห์มีความคิดดังนี้ว่า “เศรษฐีคหบดีผู้นี้สร้าง
คุณประโยชน์มากมายแก่พระราชาและชาวนิคม แต่กลับถูกพวกแพทย์บอกเลิก
รักษา แพทย์บางพวกกล่าวว่าเศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ 5 แพทย์บาง
พวกกล่าวว่าเศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ 7 ก็ชีวกเป็นแพทย์หลวงหนุ่ม
ทรงคุณวุฒิ อย่ากระนั้นเลย พวกเราพึงกราบทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระราชา
เพื่อให้รักษาเศรษฐี” พากันไปในราชสำนักเข้าเฝ้ากราบทูลว่า “ขอเดชะ เศรษฐี
คหบดีผู้นี้สร้างคุณประโยชน์มากมายแก่พระราชาและชาวนิคม แต่กลับถูกพวก
แพทย์บอกเลิกรักษา แพทย์บางพวกกล่าวว่า เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่
5 แพทย์บางพวกกล่าวว่า เศรษฐีคหบดีจะถึงอนิจกรรมในวันที่ 7 ขอพระราชทาน
พระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดมีรับสั่งนายแพทย์ชีวกโกมารภัจเพื่อให้รักษา
ท่านเศรษฐีเถิด”
ดังนั้นพระเจ้าพิมพิสารจอมทัพมคธรัฐจึงทรงมีรับสั่งชีวกโกมารภัจว่า “ชีวก เจ้า
จงไปรักษาเศรษฐีคหบดี”
ชีวกโกมารภัจกราบทูลรับสนองพระราชดำรัสแล้วเข้าไปหาเศรษฐีคหบดี ตรวจดู
อาการของเศรษฐีคหบดีแล้วถามว่า “ท่านคหบดี ถ้าผมรักษาท่านหาย จะมีอะไร
เป็นรางวัลบ้าง”
เศรษฐีตอบว่า “ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทุกอย่างจะเป็นของท่าน และเรา
ก็ขอยอมเป็นทาสของท่าน”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “ท่านจะนอนตะแคงข้างเดียวตลอด 7 เดือนได้ไหม”
เศรษฐีตอบว่า “ได้”
ชีวกโกมารภัจถามว่า “ท่านจะนอนอีกข้างหนึ่งตลอด 7 เดือนได้ไหม”
เศรษฐีตอบว่า “ได้”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :187 }