เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [7. กฐินขันธกะ] 191. สมาทายฉักกะ
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา
ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะ
เสียแล้ว” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (4)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา
ให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วล่วงคราวกฐินเดาะ
นอกสีมา การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (5)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว ถือจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไปคิดว่า “จะกลับ” อยู่นอก
สีมาให้ทำจีวรผืนนั้น ทำจีวรเสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” แล้วกลับมาทัน
กฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (6)
อาทายฉักกะ ที่ 3 จบ

191. สมาทายฉักกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินด้วยการนำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป 6 กรณี
[314] ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความ
คิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ที่นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น
การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (1)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิด
อย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรผืนนั้น จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า
กำหนดด้วยตกลงใจ (2)
ภิกษุกรานกฐินแล้ว นำจีวรที่ทำค้างไว้หลีกไป อยู่นอกสีมามีความคิดอย่างนี้
ว่า “จะให้ทำจีวรผืนนี้ที่นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรผืนนั้น จีวรที่
ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้า
เสียหาย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :153 }