เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [5. จัมมขันธกะ] 147. โสณโกฬิวิสวัตถุ
ของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนัก
แน่น และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
ถ้าสัททารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางหู ...
ถ้าคันธารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางจมูก ...
ถ้ารสารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางลิ้น ...
ถ้าโผฏฐัพพารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางกาย ...
ถ้าธรรมารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางใจ มาปรากฏทางใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้น
ได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น และ
ภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความ(เกิด)ดับของจิตนั้น

นิคมคาถา
จิตของพระขีณาสพผู้น้อมไปในเนกขัมมะ
น้อมไปในปวิเวก น้อมไปในความไม่เบียดเบียน
น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน น้อมไปในความสิ้นตัณหา
และน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง1 ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ
เพราะเห็นความเกิดแห่งอายตนะ2
ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล

เชิงอรรถ :
1 ฐานะ 6 มีเนกขัมมะเป็นต้น หมายถึงพระอรหัตตผล (วิ.อ. 3/243/165, สารตฺถ.ฏีกา 3/243/355)
ส่วนในเถรคาถาอรรถกถากล่าวอธิบายโดยประการอื่น (ขุ.เถร.อ. 2/640-641)
2 ความเกิดและความดับแห่งอายตนะทั้งหลาย (วิ.อ. 3/243-244/165, สารตฺถ.ฏีกา 3/244/355)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :12 }